สถิติ
เปิดเมื่อ10/07/2012
อัพเดท8/01/2015
ผู้เข้าชม380769
แสดงหน้า448729

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
9325167615239
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




สรรพคุณสมุนไพร ชนิดต่างๆ (เข้าชม 744 ครั้ง)

 

 
 

                                                       สาบเสือ (Eupatorium odoratum Linn.)

 

ไม้พุ่ม ขึ้นตามที่รกร้าง จัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง

สรรพคุณ

  • ใบสดตำพอกบาดแผลเพื่อห้ามเลือด
  •  ดอกมีกลิ่นฉุน ใช้เป็นยาฆ่าแมลง เบื่อปลา

 

 

                                                  บอระเพ็ด ( crispa Miers ex Hook.& Thoms.)

 

เถาวัลย์ ลำต้นขรุขระตะปุ่มตะป่ำ ขึ้นอยู่ตามป่าทั่วไป

สรรพคุณ

  • ใบ ตำพอกฝี แก้ฟกช้ำ ปวดแสบปวดร้อน ขับพยาธิ
  • เถามีรสขมจัด ใช้แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเหงื่อ บำรุงกำลัง
 
 
 
 
 
                                             ตีนเป็ด, สัตบรรณ (Alstonia scholaris R.Br.)

 

ไม้ยืนต้น มียางสีขาว ขึ้นตามป่าทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา

สรรพคุณ

  • ใบ ตำพอกดับพิษต่างๆ
  • เปลือก ช่วยให้เจริญอาหาร รักษาโรคบิด ท้องร่วง โรคลำไส้ แก้ไข้ รักษาเบาหวาน ขับน้ำนม รักษามาลาเรีย
  • ยาง ใช้อุดฟันแก้ปวดฟัน รักษาแผลอักเสบ
  • ราก แก้มะเร็ง ขับลมในลำไส้

 

                                                        ไพล (Zingiber cassumunar Roxb.)

 

พืชล้มลุกจำพวกขิงข่า มีเหง้าใต้ดิน ขึ้นตามชายป่าทั่วไป

สรรพคุณ

  • เหง้า แก้ปวดท้อง ท้องผูกท้องเฟ้อ จุกเสียด แก้ปวดบวม
  • น้ำมันสกัดจากเหง้า ทานวดแก้ปวดบวม

 

                                                           ฝาง (Caesalpinia sappan Linn.)

 

ไม้พุ่ม มีหนามแข็งตามลำต้น ดอกสีเหลือง พบขึ้นตามป่าทั่วไป

สรรพคุณ

  • เนื้อไม้มีสีแดง ใช้แต่งอาหาร ทำยาชาช่วยให้ประจำเดือนมาตามปกติ
  • แก่น บำรุงโลหิต รักษาโรคท้องร่วง

 

                                                         พะยอม (Shorea roxburghii G.Don)

 

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ดอกมีกลิ่นหอม

สรรพคุณ

  • ดอก เป็นยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้
  • เปลือกต้มกินแก้ท้องร่วงและลำไส้อักเสบ เป็นยาฝาดสมาน เปลือกสดใช้กินกับหมากและเป็นสารกันบูดในของหมักดอง

 

 

              

                                              มะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.)

 

ไม้ยืนต้นขนากลาง ผลกลม เนื้อหนา มีรสฝาด พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และชายป่าทั่วไป

สรรพคุณ

  • ใบ ต้มอาบลดไข้
  • ดอก เข้าเครื่องยาระบาย
  •  ผล ทั้งผลสดและแห้งเป็นยาฝาดสมาน ลดไข้ ขับปัสสาวะ มีวิตามินซีสูงแก้โรคลักปิดลักเปิด ยางที่ผลใช้หยอดตาแก้อักเสบ เนื้อผลแห้งแก้ริดสีดวงทวาร ท้องเสีย บิด นำไปหมักเป็นแอลกอฮอล์ กินแก้อาหารไม่ย่อย แก้ไอและดีซ่าน

 

                                                            สัก (Tectona grandis Linn.f.)

 

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้มีประโยชน์ในการก่อสร้างและมีราคาสูงมาก พบได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไปโดยเฉพาะในภาคเหนือ

สรรพคุณ

  • ใบ ลดน้ำตาลในเลือด แก้ประจำเดือนไม่ปกติ ทำยาอมกลั้วคอ แก้เจ็บคอ
  • ดอกใช้ขับปัสสาวะ
  • เนื้อไม้ รักษาโรคผิวหนัง ขับพยาธิ
  • เปลือกเป็นยาฝาดสมาน
 
                                                  แสมสาร (Cassia garrettiana Craib)

 

ไม้ยืนต้นขนาดกลางลักษณะใบคล้ายประดู่ ดอกสีเหลืองเหมือนขี้เหล็ก พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป

สรรพคุณ

  • ใบ เป็นยาขับพยาธิ บำบัดโรคงูสวัดและมะเร็งในเม็ดเลือด
  • แก่น เป็นยาระบาย ยาฟอกเลือดในสตรี

 

 

                                                            หว้า (Eugenia cumini Druce)

 

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลสีแดงอมม่วง รสหวานอมเปรี้ยว พบขึ้นตามป่าทั่วไป

สรรพคุณ

  • ใบ ตำพอกแก้โรคผิวหนัง
  • เมล็ดนำมาบดเป็นผง กินแก้เบาหวาน อหิวาตกโรค บิด

 

  เอื้องหมายนา (Costus speciosus Smith)

 

พืชล้มลุกมีหัวอยู่ใต้ดิน ดอกสีขาวมีใบประดับสีแดง ขึ้นตามที่ชื้นริมแม่น้ำลำธาร

สรรพคุณ

  • เหง้าใช้ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้ตกขาว บวมน้ำ ฆ่าพยาธิ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักเสบบวมมีหนอง
  • รากเป็นยาขม ขับเสมหะ พยาธิ โรคผิวหนังแก้ไอ

ข้อควรระวัง ; เหง้าสดมีพิษมาก กินมากทำให้อาเจียน ท้องร่วงรุนแรง

 

 

                                                     อินทนิลน้ำ (Lagerstroemia speciosa Pers.)

 

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ดอกสีม่วง ขึ้นตามที่ลุ่มชื้นแฉะ

สรรพคุณ

  • ใบใช้ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ
  • เมล็ดแก้เบาหวาน ช่วยให้นอนหลับ
  • เปลือกบรรเทาอาการท้องเสีย ลดไข้
  • ราก ใช้รักษาแผลในปาก

 

 

สะแก (Combretum quadrangulare Kurz.)

 

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง

สรรพคุณ

  • ใบเป็นยาแก้ปวดเมื่อย
  • เมล็ดมีสรรพคุณในการขับพยาธิ
  • ราก รักษาโรคกามเข้าข้อ พิษไข้เซื่องซึม

 

 

                                                         รางจืดhumbergia laurifolia Linn.)

 

ไม้เถา ดอกสีม่วง ขึ้นตามป่าดิบ ป่าละเมาะหรือทุ่งหญ้า

สรรพคุณ

  • ใบ คั้นน้ำกินแก้ประจำเดือนไม่ปกติ หยอดหู ตำพอกแก้ปวดบวม
  • ต้น เข้ายารักษามะเร็ง
  • รากและเถา แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ดับพิษร้อนต่างๆ
  • ราก เข้ายารักษาโรคอักเสบ ปวดบวม

 

เร่ว (Amomum xanthioides Wall.)

 

พืชล้มลุกพวกขิงข่า ขึ้นตามป่าดิบชื้น ดอกสีชมพูอมแดง

สรรพคุณ

  • ดอก รักษาอาการผดผื่นคัน
  • ผล แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ
  • ราก รักษาอาการหืดหอบ

 

                                                 โมกมัน (Wrightia tomentosa Roem. & Schult.)

 

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ดอกสีขาวนวลมีกลิ่นหอม ฝักยาวเป็นรูปทรงกระบอก พบตามป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทั่วไป

สรรพคุณ

  • ใบใช้ขับน้ำเหลือง แก้ท้องมาน
  • ดอกเป็นยาระบาย
  • เปลือกแก้พิษแมลงกัดต่อย ช่วยเจริญอาหาร รักษาไต ฆ่าเชื้อรำมะนาด
  • ยางแก้บิด ถ่ายมูกเลือด
  • ราก เป็นยาแก้ลม

 

                                                      เปล้าน้อย (Croton longissmus Airy Shaw)

 

ไม้พุ่ม พบตามป่าเบญจพรรณแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และปราจีนบุรี

สรรพคุณ

  • ดอก เป็นยาถ่ายพยาธิ
  • ใบ ใช้รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย บำรุงธาตุและเลือด

 

 

                                                      ตะแบก (Lagerstroemia calyculata Kurz)

 

ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและนิยมนำมาปลูกในที่สาธารณะ ดอกสีม่วง

สรรพคุณ

  • เปลือกปรุงเป็นยาแก้บิด มูกเลือด